เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหาความรู้ พฤติกรรมการเข้าถึงความรู้ของผู้คนก็เปลี่ยนไป ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ห้องสมุดหลายแห่งในโลกต้องปรับบทบาทให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้

 

เครื่องมือหนึ่งซึ่งถูกนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนห้องสมุด คือ การสร้างนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านการให้บริการ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการออกแบบการใช้งานพื้นที่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านกิจกรรมและความเชื่อมโยงกับชุมชน

 

อุทยานการเรียนรู้ TK park ขอเชิญร่วมฟัง คิด วิเคราะห์ ติดตามแนวคิดและกรณีศึกษาของห้องสมุดจากต่างแดน ที่ลงมือปรับแนวคิดเปลี่ยนบทบาทห้องสมุดด้วยนวัตกรรมด้านต่างๆ และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการประชุมวิชาการ TK Forum 2016 หัวข้อ “นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” (Library Innovation and Learning in the 21st Century)

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2559 เวลา 9.00-16.00 น. ณ ห้อง Meeting Room 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


ดาวน์โหลดเอกสารของงานได้ที่นี่ >>

สอบถามเพิ่มเติมโทร 02-264-5963 ถึง 65 ต่อ 112  (ฝ่ายวิชาการ)
หัวข้อการบรรยายและเสวนา
    “Managing Innovative Personalities for Successful Library Innovation”
โดย คิมเบอร์ลี่ แมทธิวส์ (สหรัฐอเมริกา)
    “Future City, Future Library: Experiences and Lessons Learned from the Library of Birmingham”
โดย ไบรอัน แกมเบิลส์ (สหราชอาณาจักร)
    “How to Develop and Promote Innovation in the Public Service: Case of Public Libraries in Singapore”
โดย เหงียน เลก ชอ (สิงคโปร์)
TK Forum 2015
Futures and the Library: emerging issues, scenarios and visions of the changing library โดย โซเฮล อินอะยาตอลเลาะห์ (Sohail Inayatullah) นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และอนาคตศึกษา มหาวิทยาลัยซันไชน์โคสต์ ประเทศออสเตรเลีย
TK Forum 2015
Manchester Libraries - Transformation and Renewal โดย นีล แมคอินเนส (Neil MacInnes) หัวหน้าส่วนงานกลยุทธ์ห้องสมุด ห้องแสดงงาน และวัฒนธรรรม สภาเทศบาลนครแมนเชสเตอร์ ประเทศสหราชอาณาจักร
TK Forum 2015
Challenges in transforming libraries from collection centered to user centered organisations โดย เยนส์ ธอร์ฮาวเกอ (Jens Thorhauge) ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาห้องสมุด ประเทศเดนมาร์ก
TK Forum 2015
Learning Space, Community Space, Maker Space แนวโน้มสู่ห้องสมุดอนาคต โดย พรเทพ ฉัตรภิญญาคุปต์ ทิฐินันท์ โชตินันทน์ ภานุวัจน์ ทองร่มโพธิ์ และ ภัทรพร โพธิ์สุวรรณ